การตรวจคัดกรอง (Screening) คืออะไร?

การตรวจคัดกรอง (Screening) เริ่มใช้คำนี้ในปี ค.ศ. 1951 โดย U.S. Commission on Chronic Illness เป็นวิธีการระบุ บุคคล และ/หรือสัตว์ที่เป็นไปได้ว่าจะเป็นผู้ติดเชื้อโดยใช้อุปกรณ์ในการตรวจคัดกรองที่สามารถนำมาประยุกต์ใช้ในภาคสนาม และ/หรือหน่วยงานที่ให้ผลได้อย่างรวดเร็ว เครื่องมือคัดกรองไม่ได้ถูกใช้เป็นเครื่องมือในการวินิจฉัยโรค การตรวจคัดกรองจึงเป็นเพียงการค้นหาบุคคล และ/หรือสัตว์ที่เป็นไปได้ว่าจะติดเชื้อจากประชากร และ/หรือฝูงสัตว์ที่ไม่มีอาการป่วย (Healthy population) แล้วส่งไปพบแพทย์ เพื่อรับการวินิจฉัยโรค และรักษาอีกครั้งในกรณีจำเป็น การคัดกรองมักใช้ในโรคเรื้อรัง (Chronic illness) เพื่อระบุผู้เป็นโรคที่ยังไม่ทราบ และไม่ได้รับการรักษาการคัดกรองช่วยในการระบุความเสี่ยงของการเป็นโรคเรื้อรัง กรรมพันธุ์ ที่เป็นปัจจัยเสี่ยง ตลอดจนค้นหาอาการป่วยในระยะเริ่มแรกที่ไม่ชัดเจนของผู้ป่วยได้

การคัดกรองเพื่อการควบคุมโรคไว้ในพื้นที่ มักเริ่มต้นจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการควบคุมโรคพิจารณาแล้วว่ามีความจำเป็นต้องดำเนินการ เพื่อป้องกันการแพร่ระบาดของโรค และ/หรือภัยสุขภาพ ตัวอย่างการคัดกรองในกรณีโรคติดต่อที่ชัดเจน คือ การดำเนินการคัดกรองโรคไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ 2009 โดยใช้เครื่องอินฟราเรดเทอร์โมสแกน(Infrared thermoscanner) เพื่อวัดอุณหภูมิผิวกายที่บริเวณหน้าผาก ร่วมกับประวัติการสัมผัสกับผู้ป่วย และ/หรือการเดินทางระหว่างประเทศ จากประเทศที่องค์การอนามัยโลกประกาศว่ามีการระบาดของโรค ในการคัดกรองผู้เดินทางที่ช่องทางเข้าออกประเทศ (Point of entry) ตลอดจนบุคลากรในชุมชน/โรงเรียน/สถานที่จัดการประชุม

ตัวอย่างการคัดกรองในกรณีภัยสุขภาพในประเทศไทย ได้แก่ การคัดกรองการปนเปื้อนของผู้เดินทางขาเข้า(On arrival screening) ในเหตุการณ์โรงไฟฟ้านิวเคลียร์ฟุคุชิมา ที่ประเทศญี่ปุ่น ซึ่งกระทรวงสาธารณสุขให้ผู้เดินทางขาเข้า (Arrival passenger) ประเมินความเสี่ยงของการสัมผัสกัมมันตภาพรังสีโดยสมัครใจ (Voluntary) จากประวัติของเวลาที่อยู่ในประเทศญี่ปุ่น และระยะห่างของสถานที่พักในประเทศญี่ปุ่น กับโรงงานไฟฟ้าฯ ผู้ที่ประเมินแล้วพบว่า มีความเสี่ยง สามารถไปที่สถานบริการสาธารณสุขเพื่อขอรับการปรึกษา และตรวจคัดกรองโดยใช้เครื่องไกเกอร์ เคาน์เตอร์ (Geiger counter) ซึ่งมีหลักการง่ายๆ ว่า เมื่ออนุภาคที่มีประจุไฟฟ้าจากสารกัมมันตรังสีวิ่งเข้าไปในหลอดไกเกอร์ ก็จะทำให้อากาศหรือแก๊สที่อยู่ภายในหลอดนัน้ แตกตัวเปน็ ไอออนที่มีประจุบวกและไอออนที่มีประจลุ บ จากนั้นไอออนทั้งสองก็วิง่ ไปที่ขั้วไฟฟ้า เกิดสัญญาณไฟฟ้าไปทำให้เข็มกระดิกหรือเกิดเสียงดังขึ้น การคัดกรองโดยใช้เครื่องดังกล่าวที่ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ ใช้ระดับของการคัดกรอง (Screening level) ที่สูงกว่าระดับของกัมมันตรังสีในบรรยากาศจากปกติ 5 เท่า แต่ยังเป็นระดับที่ไม่มีผลต่อสุขภาพ นอกจากนี้ยังมีการคัดกรองเพื่อการป้องกันโดยให้ยาป้องกัน ในกรณีนี้ คือการคัดกรองผู้เดินทางขาออก(Pre departure screening) โดยให้ผู้เดินทางประเมินโอกาสที่จะได้รับสารกัมมันตรังสี จากข้อมูลการปนเปื้อนสารกัมมันตรังสี ในพื้นที่ที่จะเดินทางไปในประเทศญี่ปุ่น ผู้ที่ประเมินตนเองว่าเสี่ยง และไม่สามารถหลีกเลี่ยงการเดินทางไปในพื้นที่ที่ได้รับผลกระทบ (Affected area) สามารถไปรับยาป้องกัน (โปแตสเซียม ไอโอไดด์) ที่โรงพยาบาลที่กำหนดได้

การคัดกรองทางการแพทย์สามารถแบ่งได้ตามจุดประสงค์เป็น
1) การคัดกรองในประชากรทั้งหมด (Mass screening)
2) การคัดกรองโดยใช้เครื่องมือคัดกรองที่หลากหลาย (Multiple or multiphasic screening) เช่น การคัดกรองผู้ป่วยในกรณีไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ 2009 ที่วัดอุณหภูมิของผู้ที่ตรวจพบอุณหภูมิที่ผิวหนังโดยเครื่องอินฟราเรดเทอร์โมสแกน สูงกว่าค่าคัดกรอง (37.5 องศาเซลเซียส) ซ้ำอีกครั้งโดยใช้เครื่องวัดอุณหภูมิทางหู (Ear thermometer)หลังจากนั่งพัก 30 นาที
3) การสั่งคัดกรองโดยแพทย์ (Prescriptive screening) เพื่อวัตถุประสงค์ในการค้นพบผู้ป่วยในระยะเบื้องต้น ที่ตรวจจับได้เมื่อใช้เครื่องมือคัดกรองและการค้นพบระยะแรกมีประสิทธิผลในการควบคุมโรค เครื่องมือใน

ที่มา : มาตรฐานและแนวทางปฏิบัติงานทีมเฝ้าระวังสอบสวนเคลื่อนที่เร็ว (SRRT) ฉบับปรับปรุงใหม่ 2555, สำนักระบาดวิทยา กรมควบคุมโรค

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น