ประเทศไทยมีน้ำมันปิโตรเลียมมากมหาศาลจริงหรือไม่?

มีข่าวลือออกมาว่า จริงๆแล้วประเทศไทยอ่ะนะ โคตรเจ้าพ่อน้ำมัน มีน้ำมันอยู่ใต้ดินเยอะมากๆ ใช้ยังไงๆก็ไม่หมด ... เรื่องจริงเป็นอย่างไร? ลองมาดูกันครับ ^ ^

ปีพ.ศ. 2554 ประเทศไทยมีปริมาณสำรองก๊าซธรรมชาติที่พิสูจน์แล้วประมาณ 10 ล้านล้านลูกบาศก์ฟุต หรือร้อยละ 0.1 ของปริมาณสำรองทั่วโลก สำหรับปริมาณสำรองน้ำมันดิบและก๊าซธรรมชาติเหลวมีประมาณ 400 ล้านบาร์เรล คิดเป็นสัดส่วนน้อยกว่าร้อยละ 0.02 ของปริมาณสำรองทั่วโลก

จากข้อมูลในรายงาน BP Statistical Review of World Energy Outlook 2012 แสดงข้อมูลปริมาณสำรองปิโตรเลียมที่พิสูจน์แล้วทั่วโลก ณ ปีพ.ศ. 2554 โดยจำแนกเป็นปริมาณสำรองก๊าซธรรมชาติประมาณ 7,361 ล้านล้านลูกบาศก์ฟุต และปริมาณสำรองน้ำมันดิบประมาณ 1.65 ล้านล้านบาร์เรล โดยพื้นที่ที่มีปริมาณสำรองอยู่มากและเป็นแหล่งพลังงานที่สำคัญของโลกคือ ตะวันออกกลาง บริเวณประเทศซาอุดิอาระเบีย อิหร่าน อิรัก การ์ตา ซึ่งมีปริมาณสำรองก๊าซธรรมชาติรวมกันประมาณ 2,826 ล้านล้านลบ .ฟุต (ร้อยละ 38) และมีปริมาณสำรองน้ำมันดิบประมาณ 0.795 ล้านล้านบาร์เรล (ร้อยละ 48) ปริมาณสำรองก๊าซธรรมชาติที่พิสูจน์แล้ว ส่วนใหญ่อยู่ในพื้นที่ตะวันออกกลางและยุโรป โดยประเทศรัสเซีย อิหร่าน และกาตาร์ มีปริมาณสำรองมากที่สุดเป็นสามอันดับแรกของโลก คือ 1,575 1,169 และ 885 ล้านล้านลูกบาศก์ฟุต หรือประมาณร้อยละ 24 16 และ 12 ของปริมาณสำรองทั่วโลกตามลำดับ รัสเซียมีบทบาทสำคัญต่อการผลิตและการใช้ก๊าซธรรมชาติในทวีปยุโรป โดยผลิตได้ในอัตรา 58,700 ล้านลูกบาศก์ฟุตต่อวัน แต่ประเทศที่มีการผลิตและใช้ก๊าซธรรมชาติมากที่สุด คือสหรัฐอเมริกาซึ่งผลิตและใช้ก๊าซธรรมชาติในอัตราเฉลี่ย 63,000 และ 66,800 ล้านลูกบาศก์ฟุตต่อวัน ตามลำดับ

ในปัจจุบัน (ปีพ.ศ. 2555) ทั่วโลกมีปริมาณการใช้ก๊าซธรรมชาติรวมวันละ 311,800 ล้านลูกบาศก์ฟุต หากปริมาณสำรองไม่เพิ่มขึ้นและยังคงมีการใช้ในระดับนี้ต่อไป โลกจะมีก๊าซธรรมชาติเหลือใช้ต่อไปอีก 64 ปี ส่วนประเทศไทยนั้น มีปริมาณสำรองก๊าซธรรมชาติที่พิสูจน์แล้วประมาณ 10 ล้านล้านลูกบาศก์ฟุต หรือร้อยละ 0.1 ของปริมาณสำรองทั่วโลก ขณะที่อัตราการผลิตอยู่ที่ 2,794 ล้านลูกบาศก์ฟุตต่อวัน หากมีอัตราการผลิตคงที่อยู่ในระดับนี้ ประเทศไทยจะมีก๊าซเหลือใช้ต่อไปอีกอย่างน้อย 10 ปี (ค่า R/P ratio แสดงจำนวนปีที่ผลิตปิโตรเลียมได้ ได้มาจากการนำปริมาณสำรองปิโตรเลียม (Reserves) หารด้วยอัตราการผลิตปิโตรเลียมต่อปี (Production) ค่า R/P ratio เป็นค่าที่ใช้สำหรับประมาณการอย่างคร่าว ๆ ว่าจะมีปิโตรเลียมคงเหลือให้ใช้ได้อีกกี่ปี ดังนั้น ข้อมูล R/P ratio ที่แสดงในตารางได้มาจากการนำปริมาณสำรองก๊าซธรรมชาติที่พิสูจน์แล้วหารด้วยอัตราการผลิตก๊าซธรรมชาติของปีพ.ศ. 2554)

สำหรับปริมาณสำรองน้ำมันดิบที่พิสูจน์แล้วทั่วโลก ส่วนใหญ่อยู่ในพื้นที่ตะวันออกกลางและอเมริกา โดยประเทศเวเนซุเอลา ซาอุดิอาระเบีย และแคนาดา มีปริมาณสำรองน้ำมันดิบที่พิสูจน์แล้ว มากที่สุดเป็นสามอันดับแรก คือ 0.296 0.265 และ 0.175 ล้านล้านบาร์เรล ตามลำดับ น้ำมันดิบในที่นี้ หมายถึงผลรวมของน้ำมันดิบและก๊าซธรรมชาติเหลว ส่วนประเทศที่มีการผลิตน้ำมันดิบมากที่สุดสามอันดับแรก คือ ซาอุดิอาระเบีย รัสเซีย และสหรัฐอเมริกา ซึ่งผลิตในอัตรา 11.2 10.3 และ 7.8 ล้านบาร์เรลต่อวัน ตามลำดับ ในขณะที่ประเทศสหรัฐอเมริกา จีน และญี่ปุ่น เป็นผู้ใช้น้ำมันดิบมากที่สุดสามอันดับแรกในอัตรา 18.8 9.8 และ 4.4 ล้านบาร์เรลต่อวัน ตามลำดับ เมื่อคำนึงว่าทั่วโลกมีปริมาณสำรองน้ำมันดิบรวม 1.65 ล้านล้านบาร์เรลและมีการใช้น้ำมันดิบประมาณวันละ 88 ล้านบาร์เรล ดังนั้น หากยังมีปริมาณการใช้อยู่ในระดับนี้ก็จะมีน้ำมันดิบใช้ไปอีกประมาณ 54 ปี สำหรับปริมาณสำรองน้ำมันดิบของประเทศไทยมีประมาณ 400 ล้านบาร์เรล คิดเป็นสัดส่วนน้อยกว่าร้อยละ 0.02 ของปริมาณสำรองทั่วโลก (ค่า R/P ratio น้ำมันดิบของประเทศไทยไม่สามารถนำมาใช้วิเคราะห์ว่าประเทศไทยยังมีน้ำมันดิบเหลือใช้อีก 5 ปี เพราะประเทศไทยใช้น้ำมันดิบมากกว่าที่ผลิตมาก ประเทศไทยใช้น้ำมันดิบวันละประมาณ 1 ล้านบาร์เรล แต่สามารถผลิตได้เพียงวันละประมาณ 2 แสนบาร์เรล จึงต้องนำเข้าอีกประมาณวันละ 8 แสนบาร์เรล)

อย่างไรก็ตาม ข้อมูลปริมาณสำรอง อัตราการผลิตและการใช้ปิโตรเลียม ซึ่งเผยแพร่ในรายงาน BP Statistical Review of World Energy Outlook 2012 ไม่ได้ชี้แจงถึงที่มาของข้อมูลและคงมีความคลาดเคลื่อนอยู่บ้าง โดยในส่วนของประเทศไทยก็มีความแตกต่างกับข้อมูลของกรมเชื้อเพลิงธรรมชาติ เช่น ปริมาณสำรองก๊าซธรรมชาติที่พิสูจน์แล้ว ของประเทศไทยในปีพ.ศ. 2554 ซึ่งแสดงไว้ในรายงานของ BP เท่ากับ 9.9 ล้านล้านลูกบาศก์ฟุต ขณะที่ข้อมูลของกรมเชื้อเพลิงธรรมชาติเป็น 10.1 ล้านล้านลูกบาศก์ฟุต กรมเชื้อเพลิงธรรมชาติ มีเจ้าหน้าที่ตรวจสอบทั้งในรายงานและในภาคสนามเป็นประจำตามระยะเวลาที่กฎหมายกำหนด ดังนั้นการอ้างอิงถึงรายงานของ BP นี้ จึงมีจุดประสงค์เพียงเพื่อให้เห็นภาพเปรียบเทียบปริมาณทรัพยากรปิโตรเลียมและอัตราการใช้ของประเทศไทยกับประเทศชั้นนำของโลกและประเทศเพื่อนบ้านเท่านั้น

ปริมาณสำรองที่พิสูจน์แล้ว อัตราการผลิต จำนวนปีที่ผลิตก๊าซธรรมชาติได้ และอัตราการบริโภคก๊าซธรรมชาติของประเทศที่มีแหล่งก๊าซธรรมชาติสำคัญและประเทศเพื่อนบ้านของไทย
ที่มา: BP Statistical Review of World Energy 2012
* เลือกมาบางประเทศที่มีแหล่งปิโตรเลียมที่สำคัญ และประเทศใกล้เคียงกับประเทศไทย
** รายงานประจำปีกรมเชื้อเพลิงธรรมชาติ พ.ศ. 2554 รายงานว่าประเทศไทยมีปริมาณสำรองก๊าซธรรมชาติที่พิสูจน์แล้ว
10.1 ล้านล้านลูกบาศก์ฟุต อัตราการผลิต 0.0028 ล้านล้านลูกบาศก์ฟุตต่อวัน จำนวนปีที่ผลิตก๊าซธรรมชาติได้ 9.9 ปี

ปริมาณสำรองที่พิสูจน์แล้ว อัตราการผลิต จำนวนปีที่ผลิตน้ำมันดิบได้ และ อัตราการบริโภคน้ำมันดิบของประเทศที่มีแหล่งน้ำมันดิบสำคัญและประเทศเพื่อนบ้านของไทย
ที่มา: BP Statistical Review of World Energy 2012
* เลือกมาบางประเทศที่มีแหล่งปิโตรเลียมที่สำคัญ และประเทศใกล้เคียงกับประเทศไทย
** รายงานประจำปีกรมเชื้อเพลิงธรรมชาติ พ.ศ. 2554 รายงานว่าประเทศไทยมีปริมาณสำรองน้ำมันดิบที่พิสูจน์แล้ว
400ล้านบาร์เรล อัตราการผลิต 223,000 บาร์เรลต่อวัน จำนวนปีที่ผลิตน้ำมันดิบได้ 4.9 ปี

ตัวอย่างการวิเคราะห์เปรียบเทียบกับประเทศเพื่อนบ้าน เช่น ประเทศเนการาบรูไนดารุสซาลาม พบว่า ประเทศไทยมีปริมาณสำรองน้ำมันดิบน้อยกว่าบรูไนอยู่ 660 ล้านบาร์เรล แต่มีอัตราการผลิตน้ำมันดิบเป็น 2 เท่าของบรูไน ซึ่งทำให้ประเทศไทยสามารถผลิตน้ำมันดิบได้อีกแค่ 3.2 ปีแล้วหมด ซึ่งต่างกับบรูไนที่ผลิตได้อีก 18.2 ปี ซึ่งแสดงให้เห็นได้ว่า ประเทศไทยไม่สามารถส่งออกน้ำมันดิบได้เหมือนกับประเทศบรูไน เนื่องจาก ประเทศไทยมีอัตราการผลิตและการบริโภคสูงกว่าของประเทศบรูไน

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น