การเขียนรายงานฉบับสรุปผลการสอบสวน อย่างน้อยควรมี 9 หัวข้อ ได้แก่
1) ชื่อเรื่อง (โรค/กลุ่มอาการอะไร เกิดเหตุที่ไหน เวลาเริ่มป่วยรายแรก-รายสุดท้ายเมื่อไร)
2) ผู้สอบสวน
3) ที่มา (การรับแจ้งข่าว ข้อมูลเบื้องต้น ทีมสอบสวน วันที่สอบสวน)
4) วัตถุประสงค์
5) วิธีการ
6) ผลการสอบสวน (จำนวนผู้ป่วย/ผู้ตาย การจำแนกบุคคล-เวลา-สถานที่ ปัจจัยเสี่ยงหรือสาเหตุที่ตรวจพบ)
7) มาตรการป้องกันควบคุมโรคขั้นต้น (Containment) ที่ทีม SRRTดำเนินการแล้ว
8) สรุป (ความสำคัญ/แนวโน้มของการระบาด)
9) ข้อเสนอแนะ เพื่อพิจารณาดำเนินการหรือสั่งการ ส่วนใหญ่เป็นสิ่งที่ทีม SRRT ไม่สามารถดำเนินการได้เอง และการป้องกันควบคุมโรคระยะกลาง-ยาว ที่ต้องสั่งการหรือประสานงานกับหน่วยงานอื่น
อ่าน การเขียนรายงานสอบสวนโรคเบื้องต้น (Preliminary report)
ที่มา : มาตรฐานและแนวทางปฏิบัติงานทีมเฝ้าระวังสอบสวนเคลื่อนที่เร็ว (SRRT) ฉบับปรับปรุงใหม่ 2555, สำนักระบาดวิทยา กรมควบคุมโรค
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น