ระบบบริหารจัดการปิโตรเลียมของประเทศไทยเป็นระบบสัมปทานปิโตรเลียม กฎหมายว่าด้วยปิโตรเลียมกำหนดว่า “ปิโตรเลียมเป็นของรัฐ ผู้ใดจะสำรวจหรือผลิตปิโตรเลียมในที่ใด ไม่ว่าที่นั้น เป็นของตนเองหรือของบุคคลอื่นต้องได้รับสัมปทาน การขอสัมปทานให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์วิธีการและเงื่อนไขที่กำหนดในกฎกระทรวง” ซึ่งกระทรวงพลังงานกำหนด โดยในทางเดียวกัน สินแร่(เช่น ทองคำ ดีบุก)อื่นๆที่มีการให้สัมปทานนั้น สินแร่ทั้งหมดก็เป็นของรัฐเช่นกัน
ระบบสัมปทานปิโตรเลียมเป็นการให้สิทธิประโยชน์ ในการสำรวจและผลิตปิโตรเลียมของรัฐให้แก่บริษัทเอกชนซึ่งเป็นผู้สนใจมาลงทุนในพื้นที่ที่ได้รับสัมปทานนั้นแต่เพียงผู้เดียว โดยผู้ประสงค์จะได้รับสิทธิ สำรวจและผลิตปิโตรเลียม ต้องยื่นขอสัมปทานปิโตรเลียมภายใต้หลักเกณฑ์ที่กำหนดภายใต้พระราชบัญญัติปิโตรเลียมและกฎกระทรวงที่เกี่ยวข้อง และต้องมีคุณสมบัติของผู้ขอรับสัมปทานและปฏิบัติตามขั้นตอนต่างๆ ในการขอสัมปทานปิโตรเลียมตามที่กำหนดในประกาศเชิญชวนให้ยื่นขอสัมปทาน และการให้สัมปทานปิโตรเลียมเป็นอำนาจของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงานโดยอนุมัติคณะรัฐมนตรี
การขอใช้ประโยชน์ที่ดินเพื่อการประกอบกิจการปิโตรเลียม ในกรณีที่เป็นที่ดินของหน่วยงานราชการ ที่ดินสาธารณะ หรือพื้นที่ป่าไม้ ต้องขออนุญาตใช้พื้นที่ตามระเบียบของหน่วยงาน/หน่วยราชการเจ้าของพื้นที่ หากเป็นพื้นที่ของเอกชนต้องมีการเจรจาขอใช้ที่ดิน ซึ่งอาจเป็นการเช่าหรือซื้อขายตามความตกลงกัน
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น