การเขียนรายงานสอบสวนโรคเบื้องต้น (Preliminary report)

เป็นรายงานที่จัดทำเสนอผู้บริหารงานสาธารณสุขทันทีโดยเร็ว เมื่อกลับจากการสอบสวนในพื้นที่แต่ละครั้ง ซึ่งแม้จะขาดความสมบูรณ์ด้านเนื้อหา แต่มีความสำคัญอย่างยิ่งต่อการดำเนินงานควบคุมและป้องกันโรคให้ทันท่วงทีต่อสถานการณ์โรคขณะนั้น ประกอบด้วย 6 หัวข้อหลัก ได้แก่

1) ความเป็นมา
2) ผลการสอบสวนที่เน้นเฉพาะประเด็นสำคัญที่พบระหว่างการสอบสวนโรค
3) แนวโน้มของการระบาด
4) กิจกรรมควบคุมโรคที่ได้ดำเนินไปแล้ว
5) สรุปความสำคัญและเร่งด่วน
6) ข้อเสนอเพื่อพิจารณาดำเนินการต่อไป

ความยาวของรายงาน ส่วนใหญ่ไม่เกิน 2 หน้ากระดาษ

อ่าน การเขียนรายงานฉบับสรุปผลการสอบสวน

ที่มา : มาตรฐานและแนวทางปฏิบัติงานทีมเฝ้าระวังสอบสวนเคลื่อนที่เร็ว (SRRT) ฉบับปรับปรุงใหม่ 2555, สำนักระบาดวิทยา กรมควบคุมโรค

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น