การแยกกักผู้ป่วยหรือสัตว์ในช่วงเวลาที่สามารถแพร่กระจายเชื้อ เพื่อป้องกันหรือจำกัดการถ่ายทอดเชื้อจากผู้ป่วยไปยังผู้ที่ไวต่อการเกิดโรค หรือจากผู้ที่อาจแพร่กระจายเชื้อไปยังผู้อื่น สามารถแบ่งระเภทการควบคุมโรคติดต่อด้วยวิธีการแยกโรคเป็น 7 กลุ่ม ดังนี้
a. Strict isolation : การแยกโรคอย่างเข้มงวด เพื่อป้องกันการถ่ายทอดจากเชื้อที่ติดต่อได้ง่ายหรือมีความรุนแรงของโรคสูง ซึ่งอาจติดต่อได้ทั้งการสัมผัสและอากาศ ข้อกำหนดรวมถึงการใช้ห้องแยกเฉพาะ สวมใส่ผ้าปิดจมูกและเสื้อกาวน์ และถุงมือสำหรับทุกคนที่จะเข้าไปในห้องแยกโรค มีการกำหนดการจัดระบบหมุนเวียนอากาศแบบพิเศษให้มีความดันภายในห้องต่ำกว่า (เป็นลบ) ภายนอก
b. Contact isolation : สำหรับโรคที่แพร่กระจายได้ยากกว่าหรือมีความรุนแรงน้อยกว่า หรือโรคที่แพร่จากการสัมผัสอย่างใกล้ชิดเท่านั้น ห้องแยกเฉพาะเป็นข้อกำหนด แต่ผู้ป่วยโรคเดียวกันสามารถอยู่ห้องร่วมกันได้ ควรใช้ผ้าปิดจมูกสำหรับผู้เยี่ยมผู้ป่วยอย่างใกล้ชิด การใส่เสื้อกาวน์ในกรณีที่มีร่องรอยของคราบสกปรก และใส่ถุงมือถ้าต้องสัมผัสผู้ป่วยและ/หรือสัมผัสกับวัตถุที่ปนเปื้อนเชื้อ
c. Respiratory isolation : เพื่อป้องกันการถ่ายทอดเชื้อทางอากาศในระยะใกล้ชิด ห้องแยกเป็นข้อกำหนดแต่ผู้ป่วยโรคเดียวกันสามารถอยู่ในห้องร่วมกันได้ การใช้ผ้าปิดจมูกเป็นสิ่งเพิ่มเติมถ้าเข้าใกล้ชิดกับผู้ป่วย แต่เสื้อกาวน์และถุงมือไม่มีความจำเป็น
d. Tuberculosis isolation (AFB isolation) : สำหรับผู้ป่วยวัณโรคปอดซึ่งตรวจพบเชื้อในเสมหะหรือจากการเอ็กซเรย์ (x-ray ปอด) พบลักษณะที่บ่งชี้ว่าเป็นวัณโรคที่รุนแรง ข้อกำหนดรวมถึงการใช้ห้องที่มีระบบการถ่ายเทอากาศพิเศษและประตูที่ปิดสนิท ผ้าปิดจมูกเฉพาะผู้ป่วยที่มีอาการไอและไม่แน่ใจว่าสามารถปิดปากได้ ควรใส่เสื้อกาวน์เพื่อป้องกันการปนเปื้อนบนเสื้อผ้า ไม่จำเป็นต้องใส่ถุงมือ
e. Enteric precautions : สำหรับโรคที่ติดต่อโดยการสัมผัสทั้งทางตรงและทางอ้อมกับอุจจาระของผู้ป่วยกำหนดให้อยู่ในห้องแยกถ้าสุขอนามัยของผู้ป่วยไม่ดี ผ้าปิดจมูกไม่มีความจำเป็น การใส่เสื้อกาวน์มีข้อบ่งชี้ถ้ามีโอกาสสัมผัสกับคราบสกปรกของผู้ป่วย สวมใส่ถุงมือเมื่อต้องสัมผัสกับสิ่งปนเปื้อน
f. Drainage/secretion precaution : เพื่อป้องกันการถ่ายทอดเชื้อโดยการสัมผัสทั้งทางตรงและทางอ้อมกับหนองหรือสารคัดหลั่งจากตำแหน่งที่ติดเชื้อ ห้องแยกและการใช้ผ้าปิดจมูกไม่มีความจำเป็น สวมใส่เสื้อกาวน์และถุงมือถ้ามีโอกาสสัมผัสกับสิ่งปนเปื้อน
g. Blood/body fluid precautions : เพื่อป้องกันการติดเชื้อจากการสัมผัสโดยตรงหรือโดยอ้อมกับเลือดหรือสารคัดหลั่งจากร่างกาย ใช้ห้องแยกถ้าผู้ป่วยมีสุขอนามัยไม่ดี ไม่จำเป็นต้องใส่ผ้าปิดจมูก สวมใส่เสื้อกาวน์ในกรณีที่เสื้อผ้ามีโอกาสสัมผัสกับเลือดหรือสิ่งคัดหลั่งจากผู้ป่วย การระมัดระวังการสัมผัสเลือดและสารคัดหลั่งจากผู้ป่วยจำเป็นต้องทำอย่างต่อเนื่องโดยไม่จำเป็นต้องทราบว่าผู้ป่วยนั้นป่วยด้วยโรคที่ติดต่อทางเลือดหรือไม่ (Universal blood and body fluid precautions) มาตรการเหล่านี้มีจุดประสงค์เพื่อป้องกันการติดต่อทางเลือด เนื้อเยื่อมิวคัส Mucous membrane) และผิวหนังที่เป็นแผลของบุคลากรที่ดูแลผู้ป่วย การป้องกันรวมถึงการใส่ถุงมือ การใส่เสื้อกาวน์ การใส่ผ้าปิดจมูกและการใส่แว่น
การแยกผู้ป่วยหรือสัตว์ที่ติดเชื้ออยู่ในห้อง ต้องทำอย่างน้อยนานเท่ากับระยะเวลาที่โณคสามารถแพร่ะกระจายได้ เพื่อป้องกันหรือลดการติดต่อทั้งทางตรงและทางอ้อม จากผู้ป่วยไปยังผู้ที่ไวต่อการติดเชื้อ Universal precautions ควรทำอย่างสม่ำเสมอเมื่อดูแลผู้ป่วยทุกคนในโรงพยาบาลรวมถึงผู้ป่วยนอก โดยไม่ต้องคำนึงว่าผู้ป่วยเป็นโรคที่ติดต่อทางเลือดหรือไม่ การปฏิบัติอยู่ในความเชื่อว่าเลือดและสารคัดหลั่ง (เลือด น้ำกาม ของเหลวจากช่องคลอด น้ำไขสันหลัง น้ำจากข้อของเหลวจากช่องปอด ช่องท้อง เยื้อหุ้มหัวใจและน้ำคร่ำ) ของผู้ป่วยทุกรายมีโอกาสจะติดเชื้อ HIV HBV และโรคที่ติดต่อทางเลือด Universal precautions ดำเนินไปเพื่อป้องกันบุคลากรทางการแพทย์จากการสัมผัสทางเลือด เนื้อเยื่อมิวคัส(Mucous membrane) และแผลที่ผิวหนัง มาตรการป้องกันได้แก่ การใส่ถุงมือ การใส่ผ้าปิดจมูก การใส่แว่นและหน้ากากป้องกันใบหน้า การใช้ห้องแยกโรคในกรณีที่ผู้ป่วยมีสุขอนามัยที่ไม่ดี การกำหนดบุคลากรท้องถิ่นและส่วนกลางขึ้นในการจัดการของเสียจากโรงพยาบาล ข้อกำหนดขั้นพื้นฐานในการดูแลผู้ป่วยที่ติดเชื้อมี 2 ข้อ ได้แก่
1) การล้างมือหลังการสัมผัสกับผู้ป่วยหรือวัตถุที่ปนเปื้อน ก่อนดูแลผู้ป่วยรายต่อไป
2) วัตถุที่ปนเปื้อนกับเชื้อต้องได้รับการดูแลอย่างเหมาะสมทิ้งหรือใส่ถุงรวมถึงการเขียนบ่งบอกชนิดก่อนเริ่มกระบวนการทำลายเชื้อ
ที่มา : มาตรฐานและแนวทางปฏิบัติงานทีมเฝ้าระวังสอบสวนเคลื่อนที่เร็ว (SRRT) ฉบับปรับปรุงใหม่ 2555, สำนักระบาดวิทยา กรมควบคุมโรค
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น