เป็นวิธีป้องกันการแพร่กระจายเชื้อจากผู้ป่วยที่ทราบหรือสงสัยว่าติดเชื้อจากเชื้อที่ทราบชนิดเป็นมาตรการเพิ่มเติมจาก Standard precaution โดยเพิ่มการป้องกันตามวิธีการถ่ายทอดโรค บางโรคอาจใช้มากกว่า 1 วิธี จากทั้งหมด 3 วิธี
1) Contact precautions เป็นวิธีป้องกันเชื้อโรคที่ติดต่อโดยการสัมผัสทั้งทางตรงและทางอ้อม เช่น โรคอุจจาระร่วงจาก rotavirus แผลติดเชื้อและฝี ตาแดงจากไวรัส โรคทางเดินหายใจเฉียบพลันรุนแรง (SARS) และไข้หวัดนก หิดและเหา ฯลฯ การป้องกัน ได้แก่
- สวมถุงมือและเสื้อคลุม (Gown) เมื่อต้องสัมผัสกับร่างกาย สารคัดหลั่ง หรือสิ่งของของผู้ป่วย
- วัสดุอุปกรณ์ที่ไม่ใช้แล้วในห้องตรวจ หรือบ้านผู้ป่วย ให้กำจัดทันที ส่วนที่นำกลับมาใช้ใหม่ได้ ให้ทำความสะอาดและทำลายเชื้อก่อนนำมาใช้ใหม่
2) Droplet precautions เป็นวิธีการป้องกันเชื้อโรคที่แพร่กระจายทางละอองเสมหะ และการสัมผัสเยื่อบุตา เยื่อบุปากและจมูก เช่น หัดเยอรมัน คางทูม ไอกรน ไข้กาฬหลังแอ่น ไข้หวัดใหญ่ การป้องกันที่สำคัญได้แก่ การสวมผ้าปิดปาก/จมูก ชนิดSurgical mask เมื่อเข้าใกล้ผู้ป่วยในระยะ 3 ฟุต
3) Airborne precautions เป็นวิธีการป้องกันเชื้อโรคที่มีขนาดเล็กมาก ซึ่งแพร่ไปด้วยกระแสลม เช่น วัณโรค โรคหัด โรคทางเดินหายใจเฉียบพลันรุนแรง (Severe Acute Respiratory Syndrome ; SARS) การป้องกันที่สำคัญ คือ การสวมผ้าปิดปาก/จมูก ชนิดที่มีคุณสมบัติกรองเชื้อโรคได้ เมื่อเข้าไปในห้องผู้ป่วย หรือเข้าใกล้ผู้ป่วย เช่น ใช้หน้ากาก N-95 respirator เป็นต้น
ที่มา : มาตรฐานและแนวทางปฏิบัติงานทีมเฝ้าระวังสอบสวนเคลื่อนที่เร็ว (SRRT) ฉบับปรับปรุงใหม่ 2555, สำนักระบาดวิทยา กรมควบคุมโรค
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น