ช่วงปีใหม่ที่ผ่านมานี้ ในคืนวันที่ 31 ธ.ค. 2554 ที่จะมีการนับถอยหลังเข้าสู่วันปีใหม่นั้น ปัจจุบันมักจะมีการจุดพลุเฉลิมฉลองกัน
ซึ่งตากล้องมือเก่ามือใหม่มือสมัครเล่น ต่างก็ได้ไปรอถ่ายรูปพลุกันทั้งนั้น
ก็เลยอยากนำเอาวิธีการถ่ายภาพพลุมาบอกๆต่อกันหน่อยครับ ^ ^
1. วิธีถ่ายภาพแบบมือสมัครเล่น
เข้าไปดูใน Scene Mode หรือโหมดการถ่ายภาพเลยครับ ว่ามีโหมด "ถ่ายภาพพลุ" หรือไม่
ถ้ามีก็ใช้โหมดนี้เลยครับ แต่มีข้อแม้นิดนึงว่า "อย่าลืมตั้งกล้องบนขาตั้งกล้องนะครับ" นะครับ ^ ^
เพราะโหมดนี้ จะตั้งค่าความเร็วชัตเตอร์ต่ำๆครับ ดังนั้นใช้มือถือกล้องล่ะก็ ภาพสั่นเบลอแน่ๆครับ ^ ^
ถ้าใช้โหมดนี้ไม่ต้องห่วงว่าภาพจะไม่สวยครับ เพราะค่าที่เซ็ทมาก็คือบริษัทกล้องตั้งให้ครับ และบริษัทกล้องไม่ได้โง่แน่นอนครับ
อย่างไรก็ตาม ข้อเสียก็คือในสภาพแสงที่แตกต่างไปบ้าง เช่นจุดที่ยืนนั้นมีหลอดไฟ มีโน่นนี่ส่องแสงเยอะแยะ ทำให้แสงบนท้องฟ้าเพี้ยนไปได้บ้าง โหมดพลุ
2. มือสมัครเล่นพอจะเป็นงาน
เลือกการถ่ายภาพเป็นโหมด S ไว้เลยครับ ตั้งค่าสปีดชัตเตอร์ไว้นานๆหน่อย สัก 2 วินาทีหรือมากกว่านั้นก็ได้ ถ้าต้องการเก็บพลุหลายๆกันก็นานขึ้น จากนั้นวัดแสงกับแสงที่สว่างๆอย่างหลอดไฟนีออนครับ แล้วก็แหงนกล้องขึ้นฟ้าถ่ายรูปได้เลย
แน่นอนว่า "ขาตั้งกล้องสำคัญเช่นเดิม"
อย่างไรก็ตาม ถ้าริจะเล่นโหมดนี้ เล่นโหมดถ่ายพลุสำเร็จรูปไปเลยก็ได้จ้า ไม่ลำบากดี ^ ^
3. ถ่ายแบบมืออาชีพ
ถ้าอยากถ่ายแบบมืออาชีพให้ถ่ายด้วยโหมด M ครับ ตั้งค่าตามความรู้ได้เลย
หลักการก็คือรูรับแสงแคบๆ สปีดชัตเตอร์นานๆ เท่านั้นเอง แต่ผมไม่ขอบอกนะ ว่าต้องตั้งค่าเท่าไหร่ เพราะถ้าคุณคิดว่าตนเอง "มืออาชีพพอ" ต้องจัดการตามสภาพแสงที่เจอได้ครับ ซึ่งจะไม่ตายตัวว่าจะเท่าไหร่ (จริงๆก็คือ ผมเองไม่ใช่มืออาชีพนั่นเอง 555+)
แต่ถ้ามือสมัครเล่นอยากรู้ ส่วนใหญ่ก็คือตั้งสปีดชัตเตอร์ไว้ 2-3 วินาที พร้อมๆกับค่า F8-10 ครับ แต่ในสถานการณ์จริง มันดิ้นได้อีกเยอะจ้า ^ ^
แต่ทั้งนี้ทั้งนั้น สิ่งที่สำคัญที่สุดคือ "ขาตั้งกล้อง" ครับ อันนี้ขาดไม่ได้
ถ้าลืมขาตั้งกล้องไป แนะนำ "ถ่ายวิดีโอ" เลยครับ ^ ^
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น