ปีพ.ศ. 2554 ประเทศไทยผลิตก๊าซธรรมชาติวันละประมาณ 2.8 พันล้านลูกบาศก์ฟุต
หรือร้อยละ 0.9 ของอัตราการผลิตทั่วโลก สำหรับอัตราการผลิตน้ำมันดิบผลิตวันละประมาณ
2 แสนบาร์เรล คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 0.3 ของอัตราการผลิตทั่วโลก แต่การวิเคราะห์อัตราการ
ผลิตเพียงอย่างเดียวอาจทำให้เข้าใจผิดได้ การวิเคราะห์การใช้ปิโตรเลียมควรคิดเป็นภาพรวมพลังงานทั้งหมด ประเทศไทยมีการใช้พลังงานในเชิงพาณิชย์ขั้นต้น 1.86 ล้านบาร์เรลเทียบเท่าน้ำมันดิบต่อวัน คือมีการใช้ก๊าซธรรมชาติ ก๊าซธรรมชาติเหลว น้ำมันดิบ ถ่านหิน พลังงานน้ำและพลังงานทดแทน โดยคิดรวมตั้งแต่การผลิตและการบริโภคโดยคำนึงถึงจำนวนประชากรมูลค่าสินค้าที่ผลิตได้จากผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียม และปัจจัยอื่นๆ ทางเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อมควบคู่กันไปด้วย
การจะชี้ว่าประเทศผลิตปิโตรเลียมได้มากหรือน้อยควรเปรียบเทียบกับอัตราการบริโภคตัวอย่างประเทศสหรัฐอเมริกาสามารถผลิตก๊าซธรรมชาติได้มากที่สุดในโลก 63 พันล้านลูกบาศก์ฟุตต่อวัน แต่ไม่พอเพียงกับความต้องการใช้ในประเทศ ที่ 66.8 พันล้านลูกบาศก์ฟุตต่อวัน ทั้งนี้เนื่องจากประเทศสหรัฐอเมริกาเป็นประเทศขนาดใหญ่ที่มีประชากรมากและมีอุตสาหกรรมต่างๆมากมาย อีกตัวอย่างคือประเทศกาตาร์ที่ผลิตก๊าซธรรมชาติได้ 14.2 พันล้านลูกบาศก์ฟุตต่อวันน้อยกว่าประเทศอเมริกาถึง 4 เท่า แต่สามารถเป็นผู้นำการส่งออกก๊าซธรรมชาติของโลก เพราะความต้องการใช้ในประเทศมีเพียง 2.3 พันล้านลูกบาศก์ฟุตต่อวัน
ย้อนกลับมาที่ประเทศไทยที่ผลิตก๊าซธรรมชาติวันละประมาณ 2.8 พันล้านลูกบาศก์ฟุต หรือร้อยละ 0.9 ของอัตราการผลิตทั่วโลก แต่บริโภค 4.5 พันล้านลูกบาศก์ฟุตต่อวัน หรือร้อยละ 1.4 ของอัตราการบริโภคของโลก สำหรับอัตราการผลิตน้ำมันดิบผลิตวันละประมาณ 2 แสนบาร์เรล คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 0.3 ของอัตราการผลิตทั่วโลก แต่บริโภค 1 ล้านบาร์เรลต่อวัน หรือ ร้อยละ 1 ของอัตราการบริโภคของโลก เบื้องต้นจากอัตราการบริโภคน้ำมันดิบและก๊าซธรรมชาติแสดงให้เห็นได้ว่าประเทศไทยบริโภคปริมาณน้อยเมื่อเทียบกับทั่วโลกแต่ก็บริโภคมากกว่าที่ผลิตได้ นอกจากจะดูที่ปริมาณการผลิตหรือการบริโภคแล้วยังต้องปัจจัยอื่นๆ อีกมากมายเพื่อใช้ประกอบการตัดสินใจว่าการใช้ปิโตรเลียมของประเทศคุ้มค่าหรือไม่ เช่น จำนวนประชากร(ประเทศไทยมีประชากรประมาณ 66 ล้านคน หรือ 1% ของประชากรโลก) มูลค่าของผลิตภัณฑ์จากปิโตรเลียมโดยตรง เช่น ถุงพลาสติก เครื่องสำอาง ปุ๋ยเคมี ผลิตภัณฑ์จากปิโตรเลียมที่สำคัญคือไฟฟ้า ไฟฟ้าที่ใช้ส่วนใหญ่ในประเทศไทย มาจากโรงไฟฟ้าที่ใช้ก๊าซธรรมชาติเป็นเชื้อเพลิง การวิเคราะห์การใช้ปิโตรเลียมควรคิดเป็นภาพรวมพลังงานทั้งหมด คือ คิดร่วมกันการใช้ถ่านหินพลังงานน้ำ และ พลังงานทดแทน โดยคิดรวมตั้งแต่การผลิตและการบริโภคโดยคำนึงถึงจำนวน
ประชากร มูลค่าสินค้าที่ผลิตได้จากผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียม และปัจจัยอื่นๆ ทางเศรษฐกิจ สังคมและสิ่งแวดล้อม ควบคู่กันไปด้วย
ดังนั้น จึงสรุปได้ว่าประเทศไทยไม่ได้ผลิตปิโตรเลียมได้มากเป็นอันดับต้นๆ ของโลก ตามที่มีการกล่าวอ้าง โดยผลิตปิโตรเลียมได้เพียงร้อยละ 44 ของการใช้พลังงานเชิงพาณิชย์ขั้นต้นที่เหลืออีกร้อยละ 56 ยังต้องมีการนำเข้าปิโตรเลียมจากต่างประเทศ
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น