การสำรวจและผลิตน้ำมันปิโตรเลียมทำให้แผ่นดินทรุดหรือไม่?
การผลิตปิโตรเลียม จะไม่ก่อให้เกิดปัญหาการทรุดตัวของแผ่นดิน เนื่องจากปิโตรเลียมอยู่ในรูพรุนระหว่างเม็ดทราย หรือรอยแตกขนาดเล็กในชั้นหินแข็ง ที่ระดับความลึกมากกว่า 1,000 - 3,000 เมตร มิใช่เป็นโพรงหรือแอ่งใต้ดินดังที่หลายคนเข้าใจ ชั้นหินแข็งมีโครงสร้างที่แข็งแรงมากเพราะต้องรับน้ำหนักกดทับกว่า 2,600 - 7,800 ตันต่อตารางเมตร ในการผลิตน้ำมันดิบ จะสามารถสูบน้ำมันดิบขึ้นมาได้ประมาณ ร้อยละ 10-15 ของปริมาณที่สะสมในชั้นหินกักเก็บเท่านั้น เนื่องจากมีแรงต้านจากความข้นหนืดของน้ำมันดิบและแรงตึงผิวตามธรรมชาติ ในขณะเดียวกัน น้ำที่แทรกอยู่ในชั้นหินจะไหลซึมเข้ามาแทนที่น้ำมันดิบ ชั้นหินแข็งเป็นโครงสร้างค้ำยันที่แข็งแรงจึงไม่เกิดการทรุดตัวของแผ่นดินจากการผลิตปิโตรเลียม ซึ่งแตกต่างจากกรณีของน้ำบาดาลซึ่งอยู่ในชั้นทรายระดับตื้น (50 – 200 เมตร) ที่ยังไม่แข็งตัว เมื่อมีการสูบน้ำบาดาลขึ้นมาใช้มากเกินไป และมากกว่าอัตราการไหลซึมของน้ำเข้าแทนที่ช่องว่างของเม็ดทรายในชั้นน้ำบาดาลจึงทำให้เกิดการอัดตัวของชั้นทรายและส่งผลให้เกิดการทรุดตัวของแผ่นดินในบริเวณดังกล่าว
สมัครสมาชิก:
ส่งความคิดเห็น (Atom)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น