Standard Precaution ใช้ในกรณีใดบ้าง?

Standard Precaution จะใช้กรณีที่เราไม่สามารถระบุได้ว่าผู้ป่วยเป็นโรคอะไร เกิดจากเชื้ออะไร อาจอยู่ในช่วงระยะฟักตัว (Incubation Period) เชื้อบางตัวถ่ายทอดได้ก่อนที่จะมีอาการ Standard Precaution พัฒนามาจาก Universal Precautions และ Body Substance Isolations ใช้กับผู้ป่วยทุกรายไม่ว่าจะทราบว่ามีการติดเชื้อโรคหรือไม่ เน้นแนวทางปฏิบัติต่อเลือด สารคัดหลั่งผิวหนังที่มีแผล mucous membraneช่วยลดการแพร่กระจายของเชื้อ ทั้งจากแหล่งที่ทราบและไม่ทราบว่ามีเชื้อโรค Standard Precaution ประกอบด้วย

1. Hand Hygiene เป็นคำรวมๆในกระบวนการต่างๆ ที่จะทำให้มือเราไม่มีเชื้อโรค ป้องกันการแพร่ไปยังแหล่งอื่นๆการล้างมือมี 2 แบบคือล้างด้วยสบู่ และล้างด้วย Antisepticคำว่า Antiseptic ต่างกับ Disinfectant ตรงที่ Antiseptic เช่น แอลกอฮอลล์, Iodophol และ Chlorhexadine ใช้กับเนื้อเยื่อคนได้ แต่ Disinfectant เช่น Formaldehydes Sodium hypochloride ใช้กับเนื้อเยื่อของคนไม่ได้
ตามหลักการทำลายเชื้อต้องล้างให้สะอาดเสียก่อน หากผิวหนังปนเปื้อนสารคัดหลั่งอุจจาระเลือดฯลฯ ต้องล้างสิ่งสกปรกเหล่านี้ก่อนด้วยน้ำและสบู่ แล้วใช้น้ำยาฆ่าเชื้อจากนั้นจึงใส่ถุงมือ หากไม่ล้างมือให้สะอาดแล้วใส่ถุงมือความร้อนภายในถุงมือจะทำให้เชื้อเจริญเติบโตเพิ่มขึ้นเร็วมากการเลือกน้ำยา ให้เลือกน้ำยาที่มีประสิทธิภาพครอบคลุมเชื้อโรคในวงกว้างออกฤทธิ์รวดเร็วคงฤทธิ์ได้นาน เป็นที่ยอมรับ หาได้สะดวกราคาไม่แพงจากการศึกษา พบว่าแอลกอฮอล์ระดับความเข้มข้น 70% ดีที่สุดในการทำลายเชื้อ แต่มีข้อเสียคือระเหยได้ง่าย บางทีจึงใช้ตัวที่คงฤทธิ์อยู่ได้นานร่วมด้วยเช่น Iodophol และ Chlorhexadine

2. Personal Protective Equipment (PPE) เราจะใช้ PPE แบบไหนแล้วแต่ผู้ป่วยและความเสี่ยงที่เราจะไปทำกิจกรรม เช่น ถ้าเป็นผู้ป่วยซาร์สก็ต้องใส่ PPE ครบชุดการใส่เริ่มจากกาวน์และลำดับสุดท้ายคือ Mask มือที่ใส่ถุงมือไม่ควรจับหรือปรับ PPE ในห้องผู้ป่วย

3. การจัดวางผู้ป่วย (Patient Placement) ต้องจัดวางให้เหมาะสมต่อการไหลเวียนของอากาศจากต้นลมที่เรียงลำดับ จากสะอาดไปสกปรกและไหลออกไปนอกหอผู้ป่วย

4. การดูแลด้านสิ่งแวดล้อม

5. การดูแลเครื่องมือที่ใช้กับผู้ป่วย

6. การซักรีดเสื้อผ้า

7. Occupational health and blood borne pathogens การจัดเครื่องป้องกันความเสี่ยง เช่น เครื่องป้องกันเข็มตำ

อ้างอิง : หลักการควบคุมโรคเบื้องต้นสำหรับ SRRT, สำนักระบาดวิทยา กรมควบคุมโรค, 2554

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น