Transmission - based Precautions ใช้กรณีที่เราทราบการวินิจฉัยหรือระบุชนิดของเชื้อโรคได้ ซึ่งแบ่งเป็น
1) Contact Precaution เราพิจารณาถึงวิธีการถ่ายทอดเชื้อทั้งทางตรง (Direct Contact) และทางอ้อม (Indirect Contact) ได้แก่การสัมผัสกับเชื้อ Multidrug-resistant bacteria : MRSA, VRSA, VRE Clostridium difficile, Viral hemorrhagic conjunctivitis, Diphtheria (cutaneous), Enteroviruses, E. coli O 157:H7, Hepatitis A virus, SARS, Herpes simplex, Herpes zoster, Impetigo, Abscess, cellulitis, decubitus ulcer, Parainfluenza virus, Pediculosis, Scabies, RSV, Rotavirus, Shigella, Staphylococcus aureus (cutaneous), Ebola, Lassa, Marburg วิธีการของ Contact Precaution ได้แก่ Hand hygiene and gloves, Gowns, Patient placement, Patient transport, Patient care equipments และ Environmental measures
2) Droplet Precaution ใช้ในกรณี Droplet Transmission ซึ่งมี particle ของเชื้อใหญ่กว่า 5 ไมครอน ไม่สามารถผ่านเข้าในปอดได้ ติดต่อทางไอ จาม ระยะห่างไม่เกิน 3 ฟุตหรือประมาณ 1 เมตร ในโรงพยาบาลก็มีการทำงานก่อให้เกิด Aerosal producing procedure เช่นกระตุ้นคนไข้ ให้ไอเอาเสลดออกมา mucosa เป็นทางเข้าของ Droplet เชื้อกลุ่มนี้ได้แก่ Adenovirus, Diphtheria (pharyngeal), H.influenzae type b (invasive), Influenza, Avian Influenza, Mumps, Mycoplasma pneumoniae, Neisseria meningitidis (invasive), Parvovirus B19 Pertussis, Plague (pneumonic), Rubella, Streptococcal pharyngitis, pneumonia, or scarlet fever, SARS Droplet Precaution ด้วยการใส่ mask ในระยะ 3 ฟุตจากผู้ป่วย มี eye protection มีห้องแยกเดี่ยว (Private room) หรือห้องแยกเฉพาะโรคเดียวกัน (Cohort) การดูแลเรื่องการไหลเวียนของอากาศในห้อง จำกัดการเคลื่อนย้ายผู้ป่วย หากมีการเคลื่อนย้ายเช่นไปเอกซเรย์ต้องใส่ mask ให้ผู้ป่วยไม่ให้แพร่ระหว่างทาง
3) Airborne Precaution ใช้ในกรณี Airborne Transmission ซึ่งมี Droplet nuclei (evaporated droplet) เท่ากับหรือน้อยกว่า 5 ไมครอน เชื้อลอยในอากาศได้นาน เชื้อเข้าไปอยู่ใน Terminal Bronchiole เข้าสู่เนื้อปอดในที่สุด ฉะนั้นถ้าอากาศถ่ายเทไม่ดี จะมีการติดต่อได้ง่าย ไวรัสบางตัวเช่นไข้หวัดปกติเชื้อจะลงไปเกาะ receptor cells ที่ส่วนคอ แต่เมื่อเชื้อมีการปรับตัวกลายพันธุ์เช่น ไข้หวัดนก ไข้หวัด 2009 เชื้อจะลงไปเกาะ receptor cells ที่ปอด การวางผู้ป่วย ควรจัดให้การถ่ายเทอากาศจากที่สะอาดไหลไปยังที่สกปรก อาจมีวิธีอื่นร่วมด้วย เช่น ใช้แสงอุลตราไวโอเลต หรือการกรองอากาศ ห้องแยกมีแบบ Single room with toilet and hand hygiene facilities ป้องกันไม่ให้แพร่เชื้อสู่บริเวณรอบๆ อีกแบบคือ Ante-room แบบนี้มี 2 ประตู ประตูแรกสำหรับเปลี่ยนเครื่องแต่งตัว ความดันในห้องปรับให้เป็นความดันลบ ภายในห้องต้องมีอ่างล้างมือ มีของวางให้น้อยที่สุด และอีกแบบเป็นห้อง ICU ได้ แต่ละห้องผนังต้องมีการ seal ให้สนิท เวลาเราจัดบริการไม่ให้แพร่เชื้อในชุมชนก็ยึดหลักนี้เช่นกัน เช่น กรณีผู้ป่วยสงสัยไข้หวัดนกก็จัดการแบบ One Stop Service เปิดจุดบริการที่จุดเดียว ทั้งรักษาเจาะเลือด จ่ายยาเพื่อป้องกันไม่ให้เชื้อแพร่กระจายในโรงพยาบาล
อ้างอิง : หลักการควบคุมโรคเบื้องต้นสำหรับ SRRT, สำนักระบาดวิทยา กรมควบคุมโรค, 2554
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น