การถ่ายภาพแสงทไวไลท์ (Twilight Photography) ต้องถ่ายเวลาใด?

การถ่ายภาพแสงทไวไลท์ (Twilight) นั้น เป็นการถ่ายภาพที่ทำให้ออกมามีท้องฟ้าเป็นสีทองผ่องอัมพัน(Golden Hour) หรือจะเป็นสีฟ้าเข้ม(Blue Hour) ก็ได้ ซึ่งจัดเป็นแนวการถ่ายภาพที่สวยโดดเด่นและเป็นที่นิยมวิธีหนึ่ง
ซึ่งวิธีนี้นั้น แทบไม่ต้องอาศัยทักษะอะไรเลยครับ!! ที่ต้องการมีเพียง "ความอดทน" และ "การฉกฉวยเวลา" เท่านั้นเอง
ซึ่งเวลาที่จะได้แสงแบบนี้ ก็คือช่วงเย็นหรือเช้า ที่พระอาทิตย์เพิ่งจะขึ้นหรือตก หรือท้องฟ้าก่อนพระอาทิตย์ขึ้นหรือหลังตกดินแล้วไม่นานมากนักนั่นเอง

ภาพด้านล่างนี้ ผมถ่ายภาพแสง Twilight มาครับ
ขอบอกว่าไม่เคยเซ็ท!! ไม่เคยปรับอะไรในกล้อง โหมดออโต้ครับ ไม่ได้เอามาแต่งสีอะไรทีหลังด้วย แค่ย่อแล้วก็ sharp เบาๆเท่านั้นเอง!!
สีมันจะออกมาเป็นท้องฟ้าสดๆ ตรงดวงพระอาทิตย์ที่เพิ่งตกก็จะได้สีโทนแบบนี้ครับ (ภาพนี้บังเอิญถ่ายได้เหมาะเวลาครับ ไม่ได้รอเวลา Twilight time หรอก)

บางทีเราอาจจะคิดว่า ท้องฟ้าน่ะ บางวันเท่านั้นแหละมั้งที่มีสีแบบนี้
แต่ในความจริงแล้ว ถ้าไม่มีเมฆฝนปกคลุม เหตุการณ์นี้จะเกิดทุกวันครับ!!
ทว่า ช่วงเวลาแห่งแสงแบบนี้ มันมีแค่ช่วงเช้าและเย็น ที่พระอาทิตย์ขึ้นหรือตก ในเวลาเพียงแค่ประมาณ 20 นาทีเท่านั้น!!
ดังนั้น หากคุณต้องการภาพถ่ายแสงสีแบบนี้ ต้องหาช่วงทไวไลท์ให้ดีๆครับ ว่าตอนนั้นอยู่ช่วงเวลาใด

สำหรับวิธีการหา Twilight Time นั้น
ลองเสิร์ช Twilight Calculator, Blue Hour, Golden Hour ดูครับ
จะมีเวบไซต์หลายๆเวบที่ทำวิธีการบอกค่าและช่วงเวลาในแต่ละเดือนและปีถึงค่าแสงทไวไลท์ในแต่ละพื้นที่เอาไว้ครับ
ยกตัวอย่างเช่นเวบ http://jekophoto.eu/tools/twilight-calculator-blue-hour-golden-hour ครับ
จะมีช่องให้กรอกดังละติจูดและลองจิจูด เพื่อดูตำแหน่งของเราครับ ว่าจะมีช่วง Blue Hour และ Golden Hour ตอนช่วงเวลาใด (ช่วงเดือนและวันที่จะรันให้ออโต้ครับ)
ปล. ถ้าใครหาละติจูดกับลองจิจูดไม่เป็น ให้เข้า https://maps.google.co.th ครับ คลิกขวาที่ตำแหน่งหรือทำเลของเราบนแผนที่ แล้วเลือก what's here? หรือที่นี่ที่ไหน?
จะมีค่าละติจูด(ค่าแรก)กับลองจิจูด(ค่าที่สอง)มาให้ครับ ก๊อปมาใส่ในเวบแรกด้านบนได้เลย

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น