PQO คืออะไร? ต่างจาก P4P อย่างไร?

สำหรับตอนนี้ คาดว่าหลายๆคนคงคุ้นเคยกับ P4P หรือ Pay for Performance กันดีแล้ว (ถึงบางคนอาจจะยังไม่คุ้นเคยดี แต่ก็คงพอทราบหลักการคร่าวๆ ^ ^")
แต่ตอนนี้ ดันมีตัวใหม่ออกมาอีก ชื่อว่า PQO ... เรามาดูกันดีกว่าว่า PQO คืออะไร มีดีอย่างไร?

PQO ย่อมาจาก Pay for Quality and Outcome แปลตรงๆตัวก็คือ "จ่ายตามคุณภาพและผลลัพธ์"
ส่วน P4P ย่อมาจาก Pay for Performance แปลว่า "จ่ายตามสมรรถนะ"

การวัดของทั้ง 2 ตัว ก็เลยต่างกันโดยสิ้นเชิง
P4P ทำมากได้มาก มีอะไรให้ทำ ทำไปเลย ประหนึ่งแรงงานนรกครับ ปั่นไปเลยงานมีเท่าไหร่ปั่นไปได้เลย
PQO ทำมากอาจจะได้น้อยหรืออาจจะได้มากก็ได้ หรือทำน้อยก็อาจจะได้มากก็ได้ มันขึ้นกับ "ผลลัพธ์" ว่าออกมาดีไหม?

หากยกตัวอย่างเทียบกัน สมมุติว่า "พิมพ์งาน" แล้วกัน คะแนนเต็ม 5 คะแนน
P4P จะสมมุติว่าพิมพ์งานแผ่นละ 1 คะแนน ถ้าต้องการ 5 คะแนนเต็มก็ต้องพิมพ์ 5 แผ่น
PQO จะดูที่ผลลัพธ์จากวัตถุประสงค์ของการพิมพ์งานนั้น บางทีเราอาจจะพิมพ์มาแค่ 1 แผ่น แต่ถ้าในแผ่นนั้นเรียบเรียงมาดี สรุปใจความกระชับ อ่านเข้าใจง่าย ไม่มีพิมพ์ผิด ก็ได้ 5 คะแนนเต็มได้เช่นกัน!!
ดังนั้น PQO จะใช้ KPI มาจับเป็นหลัก ไม่ได้มานับงานกันว่าทำกี่ครั้งแล้ว

หากเปรียบเทียบกับงานสาธารณสุข สมมุติว่าพ่นยุงแล้วกัน
- P4P ไข้เลือดออกระบาดหนัก พ่นยุงกระหน่ำ แต่พ่นไม่ดี โรคไม่สงบ เราก็นับเอาครั้งที่ออกพ่นมาเป็นผลงานได้
- PQO คุณพ่นยุงดีมีคุณภาพ พ่นครั้งเดียว โรคไข้เลือดออกสงบ ก็ได้ความดีความชอบไปเลย ไม่จำเป็นต้องพ่นเยอะครั้งก็ได้

ดังนั้น ... โดยส่วนตัวแล้ว มองว่า PQO มีประโยชน์กว่า P4P ครับ
เพราะงานหลายๆอย่าง ทำเยอะครั้งกว่า ใช่ว่าจะดีกว่า แต่มันอยู่ที่ผลลัพธ์มากกว่า ว่าผลงานดีหรือไม่?
ไม่ใช่ว่าหมอตรวจคนไข้เยอะมากหลายร้อยคนต่อวัน แต่ตรวจแย่มากๆ มันก็ไม่ควรจะได้คะแนนที่ดี ... แต่กับ P4P นั้น จะได้คะแนนดี

อย่างไรก็ตาม หากไม่ทำอะไรเลย แต่เพื่อนร่วมงานช่วยกันทำจนผลงานออกมาดี คนที่ไม่ทำอะไรเลยก็มีโอกาสได้ความดีความชอบตามไปด้วยได้
ดังนั้น ถ้าจะให้ดีที่สุด การบูรณาการ PQO กับ P4P เข้าด้วยกันจะมีประโยชน์สูงสุดครับ ^ ^ (แต่จะเหนื่อยมากขึ้นกับทำ PQO หรือ P4P เพียงอย่างเดียวแน่ๆ)

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น