ระบาดวิทยาเชิงโมเลกุล (Molecular epidemiology)

ระบาดวิทยาเชิงโมเลกุล (Molecular epidemiology) หมายถึง การใช้วิธีการศึกษาทางระบาดวิทยากับเทคนิคของชีววิทยาเชิงโมเลกุล วิธีการ เช่นการหาชนิดของ DNA ใช้เพื่อตรวจหา ค้นหา และวัดโครงสร้างของโมเลกุล ซึ่งอาจจะเป็นปกติหรือกลายพันธุ์ หรือถูกทำลายโดยโรค หรือการสัมผัสกับสิ่งแวดล้อม การวัดจะหมายถึงวัดการสัมผัส การตอบสนองทางชีววิทยา ลักษณะของ Host ซึ่งส่งผลต่อการตอบสนอง (ความไวรับ) หรือเหตุทางชีววิทยาได้มีการใช้วิธีการของระบาดวิทยาเชิงโมเลกุล เพื่อค้นหาลักษณะทางพันธุกรรมของสิ่งมีชีวิตที่ก่อให้เกิดโรค และเพื่อที่จะติดตามตรวจหาสายพันธุ์ในการทำให้เกิดการติดเชื้อในกลุ่มชน การวัด DNA ของเชื้อไวรัส สามารถทำได้ในเซลล์และยีนของ Host วิธีการทางโมเลกุล ถูกใช้ไปในการศึกษาระบาดวิทยาของมะเร็ง เพื่อจะค้นหาและอธิบายลักษณะ และวัดการเปลี่ยนแปลงของโมเลกุล ที่เกี่ยวข้องทำให้เกิดโรคมะเร็ง (Xenobiotic DNA abducts, Somatic genetic mutations) ความหลากหลายของยีนซึ่งสามารถถ่ายทอดสู่รุ่นลูกและเกี่ยวข้องกับ ความไวรับต่อระบบเผาผลาญ ; และยีนที่เป็นกลุ่มยีนของมะเร็ง วิชาระบาดวิทยาเชิงโมเลกุลเป็นระดับและวิธีการของการวัดมากกว่าจะเป็นระเบียบวิธีการศึกษา โดยมีพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์ และเป็นวิชาที่จะมีผลสำคัญในอนาคต

ที่มา : มาตรฐานและแนวทางปฏิบัติงานทีมเฝ้าระวังสอบสวนเคลื่อนที่เร็ว (SRRT) ฉบับปรับปรุงใหม่ 2555, สำนักระบาดวิทยา กรมควบคุมโรค

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น