การทดสอบเลนส์ทั้งหมด "ไม่ถูกต้อง" !!!

มีบทความด้านกล้องถ่ายรูปดีๆมาฝากนักเที่ยวกันอีกแล้วครับ
บทวามนี้มาจากเวบ camera555.blogspot.com นะครับ (ขอมาลงเรียบร้อยแล้ว ^ ^)

----------------------------------------------

ก๊อปมาจากเวบ ThaiD อีกทีน่ะครับ จาก http://www.thaidphoto.com/forums/showthread.php?t=126202 ซึ่งคุณ SSSSS มาโพสต์ไว้ ซึ่งทางเจ้าตัวอ้างอิงมาจาก http://cuphoto.clubs.chula.ac.th/boa...p?listID=01159 อีกทีหนึ่งครับ

---------------------------------------------------------
---------------------------------------------------------

โดย Mike Johnston (theonlinephotographer.blogspot.com)
บทความนี้เป็นบทความที่แปลจากหนังสือเรื่อง Lenses and Light-tight Boxes"
แปลโดย Charles Y.

ถ้าอยากจะทดสอบเลนส์ จงถ่ายภาพ ถ่ายเยอะๆ แล้วก็ดูภาพเหล่านั้น ดูว่าเลนส์ทำอะไรบ้าง อะไรที่มันทำได้ดี และอะไรที่มันทำได้ไม่ดี อะไรที่คุณชอบและไม่ชอบ ถ้าคุณเห็นสิ่งที่คุณภาพเยอะ และไม่ค่อยเห็นสิ่งที่ไม่ชอบ แสดงว่ามันเป็นเลนส์ที่ดีมาก ถ้าคุณจับผิดอะไรไม่ได้เลยและทุกอย่างดูดีหมด แสดงว่ามันเป็นเลนส์เทพของคุณ มันอาจจะมีข้อผิดพลาดบ้าง แต่ถ้ามันไม่ได้โผล่มาในงานของคุณ มันก็ไม่มีค่าอะไร

อย่าคิดว่าคนดูภาพจะรู้หรือสนใจ คนส่วนมากไม่ได้ดูคุณภาพของเลนส์เวลาดูภาพ พวกเขาดู”ภาพ” ถ้าคิดในเรื่องนี้ พวกเขาอาจจะได้เปรียบกว่าช่างภาพโดยทั่วไปอยู่อักโข เมื่อมองดูภาพถ่ายอย่างภาคภูมิใจ ช่างภาพจะคิดว่า “ดูคอนทราสระหว่างสีแดงกับสีเขียวนั่นสิ และสีแดงช่างไล่โทนสวยจริงๆ” ในขณะที่เพื่อนของเขาที่ไม่ใช่ช่างภาพซึ่งยืนอยู่ข้างๆ คิดว่า “ก็แค่ภาพดอกไม้”

ในอเมริกา (อย่างน้อยๆ) เป็นประเทศของเหล่านักช็อป พวกเรารักที่จะกังวลเกี่ยวกับเรื่องเล็กๆ น้อยๆ และข้อแตกต่างเล็กๆ น้อยๆ ระหว่างสินค้าที่เหมือนๆ กัน การค้นหาสิ่งที่ดีที่สุดของ “สิ่งนี้” และ “สิ่งนั้น” กลายมาเป็นงานอดิเรกและมันก็เป็นเรื่องส่วนบุคคล เพราะบางครั้งบุคลิคส่วนบุคคลก็ถูกรวมเข้าไปอยู่ในนั้นด้วย เมื่อเราตัดสินใจแล้ว ตัวเลือกของเราจะถูกปกป้อง บางครั้งอย่างเผ็ดร้อน สิ่งที่เราเลือกนั้นเยี่ยมที่สุด สิ่งอื่นๆ ห่วยกว่าทั้งนั้น

ทั้งหมดนี้เป็นเรื่องไร้สาระ ช่างภาพที่มีพรสวรรค์สามารถถ่ายภาพทุกอย่างที่ช่างภาพมือใหม่พร้อมกับอุปกรณ์ใหม่ล่าสุดทุกแขนงถ่ายได้ด้วยเลนส์ 50mm ตัวเดียว คนเราสามารถสร้างงานที่ดีหรือแย่ก็ได้กับอุปกรณ์ไหนๆ ก็ตาม มันเป็นไปได้ทั้งสองทาง คุณสามารถสร้างภาพที่ยอดเยี่ยมจากเลนส์สั่วๆ ก็ได้ และคุณก็สามารถสร้างภาพที่ทุเรศสุดๆ จากกล้อง Linhof ที่แพงที่สุด และเลนส์ Apo เรียงมือ บางครั้งมันเป็นเรื่องสนุกที่จะคุยเรื่องเลนส์ ดูบรรดาผลการทดสอบเลนส์ ดูชาร์ท MTF ที่บางครั้งเราก็ไม่เข้าใจ เปรียบเทียบตัวเลขคะแนนระหว่างเลนส์รุ่นต่างๆ แต่ว่ามันก็ไม่ได้มีผลอะไรต่อการถ่ายภาพของคุณ พลังใจที่เหล่าผู้ชื่นชอบการถ่ายภาพทั้งหลายในโลกเอาไปใส่กับสิ่งเหล่านี้ เป็นเพียงแค่การเสียเวลาเปล่าเท่านั้น

สิ่งที่แย่ที่สุดคือตัวเลขคะแนนเดี่ยวๆ อย่างเช่น เลนส์ตัวนี้ได้ B+ อีกตัวได้ B หรือว่าเลนส์นี้ได้คะแนน 9.7 เต็ม 10 จากเสกล”ความรักความหลง” แต่ได้แค่ 9.1 นอกจากนั้น เลนส์ตัวนี้มี MTF 4.1 (อย่างน้อยอันหลังสุด เราก็รู้ว่าเรากำลังทดสอบอะไร หวังว่านะ) เลนส์ตัวนี้สามารถแยกเส้นได้ x เส้นต่อมิลลิเมตร ถ้าคุณใช้ขาตั้งกล้องสำรวจ หรือใช้ gyroscope กับฟิล์ม Tech Pan ที่ถูกล้างในปัสสาวะแพะ เลนส์ตัวนี้ได้รางวัลสูงสุด เลนส์อันนั้นไม่แพงและมันอาจจะถูกสร้างโดยบริษัทอื่น เพราะฉะนั้นอย่าไปดูมันเลย

การเข้าใจเลนส์แต่ละตัวเป็นเรื่องของการเข้าใจปัจจัยและคุณภาพจำนวนมาก - ขนาด น้ำหนัก กลุ่มผู้ใช้ มุมองศาการรับภาพ ขอบมืดทั้งทางออปติคและทางกายภาพ การควบคุมคุณภาพ กำลังแยกเส้น คอนทราส คุณภาพจากกลางภาพไปถึงขอบภาพ คุณภาพระหว่างช่องรับแสงขนาดต่างๆ การกระเจิงแสง และการคลาดแสงและสี ถ้าพูดให้หมดแล้ว มันอาจจะมีสัก 20-30 อย่างที่เราต้องคำนึงถึง และนั่นก็เป็นแค่ลิสต์พื้นฐาน ก่อนที่ใครสักคนจะเข้าไปสู่เรื่องนี้อย่างจริงจัง เรื่องก็มีอยู่ว่าการที่คุณจะเอาสิ่งต่างๆ มากมายเหล่านี้ มาผสานเป็นตัวเลขเพียงตัวเดียว คุณต้องตัดสินใจว่าจะให้คะแนนเน้นหนักลงในแต่ละส่วนแค่ไหน อย่างไร และคนทดสอบเลนส์ส่วนมากไม่บอกว่าพวกเขาใช้เกณฑ์อะไรมาตัดสิน และให้น้ำหนักคะแนนอย่างไร เพราะฉะนั้นจริงๆแล้ว พวกเขาไม่ได้บอกอะไรกับคุณเลย ความจริงแล้วมันแย่กว่าการไม่ได้บอกอะไรเสียอีก เพราะพวกเขากำลังให้ข้อตัดสินโดยไม่มีข้อมูลให้คุณดูเลย

การที่คุณจะบอกว่าเลนส์ตัวหนึ่งให้ภาพอย่างไร ขึ้นอยู่กับว่าคุณใช้มันอย่างไร ถ้าคุณถ่ายฟิล์มสไลด์ คุณอาจจะสนใจเกี่ยวกับการถ่ายทอดสีของเลนส์ แต่ถ้าคุณถ่ายภาพขาวดำ คุณจะไม่สนใจเรื่องนั้นมากนัก ถ้าคุณถ่ายภาพที่ช่องรับแสงกว้างสุดตลอด คุณจะสนใจโบเก แต่ถ้าไม่เคยมีอะไรไม่อยู่ในโฟกัสในภาพของคุณ คุณคงไม่สนใจมันเลย และก็ที่ระยะไหนที่เลนส์ทำงานได้ดีที่สุด ผมเคยทดสอบเลนส์ OM Zuiko กับ Zeiss Planar เลนส์ Zuiko ดีกว่า Zeiss ที่ระยะใกล้ๆ แต่ Zeiss ดีกว่า Zuiko ที่ระยะอนันต์ เพราะฉะนั้น ที่ระยะไหนที่คนทดสอบเลนส์ทำการทดสอบ? พวกเขาไม่ค่อยจะบอกคุณเรื่องเหล่านี้ และพวกเขาก็ไม่เคยบอกว่าเขาทดสอบเลนส์ที่ระยะไหน

ถ้าคุณเป็นศิลปิน คุณสามารถใช้เลนส์ตัวไหนก็ได้ และก็สร้างศิลปะกับมัน แฟลร์มันแย่เหรอ? ไม่หรอก ถ้าคุณสามารถใช้มันสร้างอารมณ์ในภาพได้ ความละเอียดต่ำแย่เหรอ? ไม่จำเป็นเสมอไป งานวิจัยชี้ว่าคนเราสามารถแยกแยะภาพได้แม้ภาพจะมีเส้นเพียงไม่กี่เส้น หรือแม้แต่สิ่งของที่ไม่มีภาพเป็นชิ้นเป็นอันเลย (เมฆ ไฟ ลายไม้) คอนทราสต่ำแย่เหรอ? ไม่หรอก ถ้าคุณถ่ายภาพแนว pictorial ผมเคยถ่ายภาพๆ หนึ่งที่ถูกนำแสดงและตีพิมพ์จำนวนมากด้วยกล้อง Kodak Instamatic 104 เก่าๆ บนฟิล์มสี และก็พิมพ์ลงบนกระดาษอัดภาพขาวดำ เลนส์ Instamatic มันแย่ไหม? ผมก็ว่างั้นนะ แต่ไม่ใช่สำหรับภาพนั้น

ในความจริงแล้ว ถ้าคุณทดสอบเลนส์ด้วยจุดมุ่งหมายหนึ่งๆ คุณก็จะเห็นสิ่งนั้น ว่ามันสามารถทำงานในสภาพที่คุณต้องการได้ดีเพียงใด ถ้าคุณถ่ายภาพหนังสือพิมพ์ที่ติดกับกำแพง คุณก็จะรู้เพียงอย่างเดียวแน่นอน นั่นคือ เลนส์ตัวไหนถ่ายภาพหนังสือพิมพ์บนกำแพงได้ดีที่สุด และแม้กระนั้น คุณก็ต้องมีความแม่นยำอย่างสุดๆ ซึ่งช่างภาพส่วนมากไม่มี เพราะแม้แต่การโฟกัสที่ผิดพลาดเพียงนิดเดียวก็สามารถทำให้ผลการทดสอบผิดพลาดไปโดยสิ้นเชิง ไม่ว่าจะอย่างไหน มันก็เหมือนกับเรื่องคนตาบอดคลำช้างอยู่ดี

เลนส์หลายๆ ตัวสามารถดูเหมือนกันได้ในหลายๆ สถานการณ์ ถ้าคุณเอา Pentax 43mm Limited กับ Yashica 50mm F/1.9 แล้วหันพวกมันออกห่างจากดวงอาทิตย์ และถ่ายที่ F/8 ภาพจะออกมาเยี่ยมยอดพอกัน แต่ถ้าเปิดที่ F/4 แล้วหันเข้าหาดวงอาทิตย์ ความแตกต่างจะบังเกิด 43mm จะแทบไม่มีแฟลร์ และ Yashica จะแฟลร์กระจาย

เลนส์ที่คล้ายๆ กันก็สามารถแตกต่างกันมากสำหรับช่างภาพคนละคน หรือในคนละสถานการณ์ นึกถึงกรณีของช่างภาพเยอรมันคนนึงที่ผมรู้จักซึ่งถ่ายภาพทางอากาศอย่างเดียว เขามักจะใช้เลนส์ 50mm โดยเปิดช่องรับแสงกว้างสุด และถ่ายที่ระยะมากกว่าหนึ่งไมล์ ช่างภาพบุคคลที่ใช้เลนส์เดียวกันสำหรับกลุ่มคนเล็กๆ ในสตูดิโอ ใช้เลนส์ที่ช่องรับแสงแคบกว่านั้นและที่ระยะใกล้กว่า 15 ฟุต ดังนั้น คุณคิดว่าถ้าสองคนนี้ให้ความเห็นเกี่ยวกับเลนส์ มันจะเป็นอย่างไร?

ท้ายสุด เราต้องคำนึงว่าเลนส์จะคงทนแค่ไหน เลนส์บางยี่ห้อซึ่งผมจะไม่กล่าวถึง หลายๆ ครั้งผลิตเลนส์ที่วัดคุณภาพออกมาได้ดีตอนที่ยังใหม่อยู่ แต่ว่าคุณภาพจะตกลงเมื่อเวลาผ่านไป เพราะฉะนั้นถ้าคุณซื้อเลนส์ที่ดีที่สุดโดยดูจากผลทดสอบในกระดาษวันนี้ คุณจะรู้ได้อย่างไรว่ามันจะยังดีเหมือนเดิม เมื่อเวลาผ่านไปอีกสามปี

และมันทนทานแค่ไหน พวกเราคิดว่าส่วนมากเราคงไม่ทำเลนส์ตกบ่อยนัก แต่ผมมั่นใจว่าพวกเราส่วนมากต้องเคยทำเลนส์ตกมาแล้วสักครั้ง หรือสองครั้ง แรงกระแทกเหล่านั้นจะทำให้ชิ้นส่วนภายในเสียหายหรือไม่ ผมจำได้ว่าเมื่อหลายปีก่อนผมเคยดูตัวแทนจาก Leica เอาลวดหนามมาขูดที่หน้าเลนส์ จากนั้น โยนเลนส์ราวกับโบวลิ่งจนกระทั่งมันกระแทกเข้ากับกระดาน จากนั้นเขาก็หยิบมันขึ้นมา ใส่กับกล้อง แล้วบอกว่า “เอาไปถ่ายภาพได้”

สรุปก็คือ ไม่มีใครรู้บอกคุณได้ว่าเลนส์ของคุณดีแค่ไหน ถ้าคุณไม่มีความรู้ที่จะเข้าใจในสิ่งที่มันจะทำ ไม่สามารถแยกแยะเพื่อที่จะสร้างสไตล์ส่วนตัว และไม่รู้ว่าจะใช้มันทำอะไร คุณก็คงสามารถใช้เลนส์อะไรก็ได้ เพื่อนของผมสรุปสั้นๆ (อย่างน่าขัน) เกี่ยวกับความคิดของคนส่วนมากในอินเทอร์เน็ต เกี่ยวกับเลนส์

“ผมเพิ่งซื้อเลนส์มาใหม่ตัวหนึ่ง พวกคุณทั้งหลายช่วยบอกผมหน่อยได้ไหม ว่าผมควรจะชอบเลนส์ตัวนี้ดีหรือเปล่า”

เหมือนอย่างที่คนออกแบบเลนส์ Leica กล่าวไว้

“ทางเดียวที่จะทดสอบเลนส์คือ ใช้มันอย่างน้อยหนึ่งปี อย่างอื่นเป็นแค่ทางลัด”

ผมรู้ว่าผมกำลังบ่นมากไปในที่นี้ แต่สำหรับคนที่ยังหยุดเรื่องเหล่านี้ไม่ได้ หยุดนั่งดูผลการทดสอบเลนส์ได้แล้ว และก็มีความมั่นใจในตัวเองบ้าง มองดู และก็เชื่อในสิ่งที่คุณเห็น

จบแล้วครับ ทุกอย่างชัดเจนจนผมเองไม่มีความคิดเห็นใดๆเพิ่มเติมครับ

---------------------------------------------------------
---------------------------------------------------------

อ่านแล้วชอบครับ เลยอยากเอามาแชร์ในบล็อคด้วย ^ ^

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น